ประวัติ ของ โฌแซ็ฟ ฟอร์ล็องซ์

ฟอร์ล็องซ์เป็นบุตรของเฟลีเชและวีตา ปากาโน เขาเกิดที่ปีแชร์โน (แคว้นบาซีลีคาตา) ในช่วงรัชสมัยแห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์ จากครอบครัวแพทย์ เฟลีเชซึ่งเป็นบิดาของเขา, เซบัสตีอาโน และจูเซปเปซึ่งเป็นลุงของเขาต่างเป็นศัลยแพทย์ช่างตัดผมของตระกูลขุนนางกาเปเช มีนูโตโล จากรูโอตี หลังจากเข้าศึกษาหลักสูตรการสอนศาสนาโดยวิธีถาม-ตอบ ที่รูโอตี เขาได้ย้ายไปยังเนเปิลส์เพื่อศึกษาศัลยศาสตร์ และไปตั้งตัวต่อในประเทศฝรั่งเศสภายใต้การสอนของปีแยร์-โฌแซ็ฟ เดอโซ ซึ่งเขาได้กลายเป็นเพื่อนสนิทและเป็นผู้ทำงานร่วมกันในการศึกษาทางกายวิภาค

ต่อมา ฟอร์ล็องซ์เดินทางไปประเทศอังกฤษ ที่เขาพักอยู่เป็นเวลาสองปี โดยเก็บประสบการณ์ที่โรงพยาบาลเซนต์จอร์จในกรุงลอนดอน แล้วได้รับการกำกับโดยจอห์น ฮันเตอร์ เขายังได้เดินทางไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ครั้นกลับสู่ประเทศฝรั่งเศส เขาก็ได้เริ่มอาชีพจักษุแพทย์ เขามีความแน่วแน่ในการรักษาโรคตาต่าง ๆ และใช้หน้ากากขี้ผึ้งเป็นตัวอย่างให้เห็น[1]

ในปี ค.ศ. 1797 เขาฝึกการผ่าตัดตาที่บ้านพักคนชราในปารีส ต่อหน้าคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากสถาบัน เช่นเดียวกับสมาชิกหลายคนของรัฐบาล รวมถึงนักวิชาการฝรั่งเศสและต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1798 เขาได้เป็นศัลยแพทย์ที่ออแตลเดแซ็งวาลีด และออแตล-ดีเยอ ของปารีส ซึ่งเขาได้ทำการรักษาแบบอินเตอร์เวนชันที่น่าทึ่งจำนวนมาก

ฟอร์ล็องซ์ได้รักษาทหารของกองทัพของนโปเลียนที่กลับมาจากอียิปต์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคทางตาที่รุนแรง เขารักษาบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ฌ็อง-เอเตียน-มารี ปอร์ตาลีส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนมัสการ และกวี ปองซ์ เดอนี เลอเบริง ได้รับการนำต้อกระจกที่มีอยู่เป็นเวลาสิบสองปีจากดวงตาข้างหนึ่งออก เลอเบริงจึงอุทิศต่อเขาในบทกวีชื่อเลคงเกสเดอโลมซูร์ลานาจูร์ (Les conquêtes de l’homme sur la nature)[2] จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระราชกฤษฎีกา แต่งตั้งให้เขาเป็น "ศัลยแพทย์ดวงตาแห่งลีเซ, บ้านพักรับร้องพลเรือน และสถาบันการกุศลทั้งหมดแห่งหน่วยงานต่าง ๆ ของจักรวรรดิ"[3] ดังนั้น ฟอร์ล็องซ์จึงได้รับการส่งไปยังจังหวัดฝรั่งเศสเพื่อรักษาโรคตา

การงานของเขาขยายไปถึงอังกฤษและอิตาลี ซึ่งเขาทำการผ่าตัดฟรีในเมืองต่าง ๆ เช่น ตูริน และโรม ในกรุงโรม เขารักษาพระคาร์ดินัล โดรีอา และได้รับเกียรติต่อสาธารณชนโดยคาโรลีน แห่งบูร์บง ดยุกแห่งแบร์รี ส่วนต้นฉบับของเขาอย่างข้อควรพิจารณาสำหรับการผ่าตัดของม่านตาเทียม (ค.ศ. 1805) ถือเป็นหนึ่งในงานทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดของยุคสมัย[4] ฟอร์ล็องซ์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1833 โดยเป็นโรคการตกเลือดในสมอง ที่ "กาเฟเดอฟอย" ในกรุงปารีส ซึ่งเขาใช้เวลาช่วงเย็นที่นั่นบ่อยครั้ง

ใกล้เคียง